ด้านการเมืองการบริหาร
1. ประวัติความเป็นมา
เทศบาลตำบลเกาะพะงัน ได้รับการยกฐานะมาจากสุขาภิบาลเกาะพะงันตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ.2542 ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 มีอาคารที่ทำการสร้างตามแบบของเทศบาล เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2548 และอาคารหลังที่ 2 เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2557 ซึ่งตั้งอยู่บนถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ตำบลเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2. พื้นที่
พื้นที่เขตเทศบาลตำบลเกาะพะงันครอบคลุมหมู่ที่ 1-3 ตำบลเกาะพะงัน และหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านใต้ มีเนื้อที่ประมาณ 24.65 ตารางกิโลเมตร เท่ากับ 15,806 ไร่
อาณาเขต
- ทิศเหนือ
จากหลักเขตที่ 1เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 2 อยู่ถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ฟากตะวันตกอยู่ห่างจากจุดกึ่งกลางคลองเหมืองชัยตัดกับถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ตามแนวถนนท้องศาลา – โฉลกหลำไปทางทิศเหนือ ระยะ 690 เมตร บริเวณพิกัด PL 108789 รวมระยะประมาณ 1,150 เมตร
จากหลักเขตที่ 2 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านถนนท้องศาลา – โฉลกหลำผ่านแนวเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี ป่าเกาะพะงันและป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเกาะพะงัน ถึง หลังเขตที่ 3 ซึ่งอยู่กึ่งกลางคลองท่าน้ำโฉ ตรงแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ไปทางทิศตะวันออกระยะ 1,160 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองท่าน้ำโฉตัดกับถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ตามแนวถนนท้องศาลา – โฉลกหลำไปทางทิศใต้ ระยะ 200 เมตร บริเวณพิกัด PL 120793 รวมระยะประมาณ 1,120 เมตร
จากหลักเขตที่ 3 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 4 ซึ่งอยู่ตรงแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ไปทางทิศตะวันออก ระยะ 2,110 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองท่าน้ำโฉตัดกับถนนท้องศาลา – โฉลกหลำตามแนวถนนท้องศาลา – โฉลกหลำไปทางทิศเหนือระยะ 710 เมตร บริเวณพิกัด PL 129800 รวมระยะประมาณ 1,130 เมตร
จากหลักเขตที่ 4 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งอยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนบ้านใต้ – ท้องนายปาน ไปทิศตะวันตก ระยะ 1,130 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองธารเสด็จตัดกับถนนบ้านใต้ – ท้องนายปาน ตามแนวถนนบ้านใต้ – ท้องนายปานไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะ 2,770 เมตร บริเวณพิกัด PL 137796 รวมระยะประมาณ 860 เมตร
- ทิศตะวันออก
จากหลักเขตที่ 5 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านแนวเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี เกาะพะงันและป่าสงวนแห่งชาติ เกาะพะงัน ถึงหลักเขตที่ 6 ซึ่งอยู่ในแนวเส้น ตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนบ้านในสวน – น้ำตกแพง ไปทางทิศตะวันออก 480 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางที่คลองท่าคูตัดกับถนนบ้านในสวน – น้ำตกแพง ตามถนนบ้านในสวน – น้ำตกแพงไปทางทิศใต้ ระยะ 780 เมตร บริเวณพิกัด PL 115749 รวมระยะประมาณ 5,150 เมตร
จากหลักเขตที่ 6 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ถึงหลักเขตที่ 7 ซึ่งอยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนหน้าอำเภอ – บ้านเหนือ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะ 150 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองท่าคูตัดกับถนนหน้าอำเภอ – บ้านเหนือ ตามแนวถนนหน้าอำเภอ – บ้านเหนือ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ระยะ 1,950 เมตร บริเวณพิกัด PL 120739 รวมระยะประมาณ 1,260 เมตร
จากหลักเขตที่ 7 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ผ่านถนนบ้านใต้ – บ้านเหนือและคลองท่าจีน ถึงหลักเขตที่ 8 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองท่าจีนฝั่งตะวันออก ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองท่าจีน ตัดกับถนนท้องศาลา – บ้านใต้ ตามแนวคลองท่าจีนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ระยะ 300 เมตร บริเวณ PL 130724 รวมระยะประมาณ 1,800 เมตร
จากหลักเขตที่ 8 เป็นเส้นเลียบคลองท่าจีน ฝั่งตะวันออกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านถนนท้องศาลา – บ้านใต้ ถึงหลักเขตที่ 9 ซึ่งตั้งอยู่ริมคลองท่าจีน ฝั่งตะวันออก ตรงจุดที่บรรจบกับริมฝั่งอ่าวไทย บริเวณพิกัด PL 127718 รวมระยะประมาณ 680 เมตร
- ทิศใต้
จากหลักเขตที่ 9 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือผ่านอ่าวบางจารุ และแหลมสนถึงหลักเขตที่ 10 ซึ่งตั้งอยู่ตรงปลายแหลมเกาะแตใน ด้านทิศใต้ บริเวณพิกัด PL 070727 รวมระยะประมาณ 5,710 เมตร
- ทิศตะวันตก
จากหลักเขตที่ 10 เป็นเส้นเลียบแนวชายฝั่งเกาะแตใน ด้านตะวันตกไปทางทิศเหนือ ถึงหลักเขตที่ 11 ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมเกาะแตในด้านเหนือ บริเวณพิกัด PL 0700734 รวมระยะประมาณ 920 เมตร
จากหลักเขตที่ 11 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านอ่าวในวก ถึงหลักเขตที่ 12 ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลบริเวณแหลมหินนกตรงจุดที่อยู่ห่างจากคลองสาธารณะ ตามแนวริมฝั่งทะเลบริเวณแหลมหินนกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะ 400 เมตร บริเวณ PL 076744 รวมระยะประมาณ 1,170 เมตร
จากหลักเขตที่ 12 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกผ่านคลองสาธารณะและถนนในวก – วกตุ่ม ถึงหลักเขตที่ 13 ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนท้องศาลา – ศรีธนู ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะ 300 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองท่าใหญ่ ตัดกับถนนท้องศาลา – ศรีธนู ตามแนวถนนท้องศาลา – ศรีธนู ไปทางทิศเหนือ ระยะ 600 บริเวณพิกัด PL 088744 รวมระยะประมาณ 1,180 เมตร
จากหลักเขตที่ 13 เป็นเส้นขนานกับศูนย์กลางถนนท้องศาลา – ศรีธนู ระยะ 300 เมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศเหนือ ถึงหลักเขตที่ 14 ซึ่งตั้งอยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนท้องศาลา – ศรีธนู ไปทางทิศตะวันตก ระยะ 300 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองท่าใหญ่ตัดกีบถนนท้องศาลา – ศรีธนู ไปทางทิศเหนือ ระยะ 1,700 เมตร บริเวณพิกัด PL 091751 รวมประมาณ 850 เมตร
จากหลักเขตที่ 14 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกผ่านถนนท้องศาลา – ศรีธนู ถึงหลักเขตที่ 15 ซึ่งตั้งอยู่คลองท่าใหญ่ฝั่งตะวันตกตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางท่าใหญ่ตัดกับถนนสวนป่าตามแนวคลองท่าใหญ่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะ 60 เมตร บริเวณพิกัด PL 095750 รวมระยะประมาณ 380 เมตร
จากหลักเขตที่ 15 เป็นเส้นตรงไปทางทิศเหนือ ผ่านคลองท่าใหญ่ ถนนในนา – มะเดื่อหวานถนนท่าลำเจียก ไปตามคลองท่าลำเจียงฝั่งตะวันตกผ่านถนนเขาขี้แรด และถนนรัตนโกสินทร์ศก 200 ปี ถึงหลักเขตที่ 16 ซึ่งตั้งอยู่ถนนรัตนโกสินทร์ศก 200 ปี ฟากเหนือ ตรงจุดที่ถนนรัตนโกสินทร์ศก 200 ปี บรรจบกับถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะ 640 เมตร บริเวณพิกัด PL 096767 รวมระยะประมาณ 1,710 เมตร
จากหลักเขตที่ 16 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถึงหลักเขตที่ 17 ซึ่งตั้งอยู่บนเขาไม่ปรากฏชื่อ ในแนวเส้นตั้งฉากกับศูนย์กลางถนนท้องศาลา - โฉลกหลำ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ระยะ 490 เมตร ตรงจุดที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางคลองเหมืองชัยตัดกับถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ตามแนวทางถนนท้องศาลา – โฉลกหลำ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ระยะ 770 เมตร บริเวณพิกัด PL 100777 รวมระยะประมาณ 1,000 เมตร
จากหลักเขตที่ 17 เป็นเส้นตรงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ บรรจบกับหลักเขตที่ 1 รวมระยะประมาณ 1,560 เมตร
3. ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปของพื้นที่ อำเภอเกาะพะงันเป็นหมู่เกาะที่ตั้งอยู่บนไหล่ทวีปอยู่ตอนกลางของอ่าวไทย นอกชายฝั่งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดสุราษฎร์ธานีประมาณ 100 กิโลเมตร ระหว่างเส้นรุ้ง ( Latitude) ที่ 69 องศา – 84 องศาเหนือ และเส้นแวง (Longitude) ที่ 05 องศา – 19 องศาตะวันออก ห่างจากแผ่นดินใหญ่ประมาณ 40 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร 770 กิโลเมตร พื้นที่เกาะพะงันกว่าครึ่งเป็นภูเขาและที่ดอนสูงมีโครงสร้างต่อเนื่อง การใช้ที่ดินโดยทั่วไปบริเวณที่ราบรอบเกาะ
4.ลักษณะการใช้ที่ดิน
ลักษณะการใช้ที่ดินของเขตพื้นที่เทศบาลสามารถแบ่งได้ดังนี้
- พื้นที่พักอาศัย 200 ไร่ - พื้นที่เกษตรกรรม 7,000 ไร่
- พื้นที่พาณิชยกรรม 200 ไร่ - พื้นที่อุตสาหกรรม 5 ไร่
- พื้นที่ตั้งหน่วยงานของรัฐ 50 ไร่ - พื้นที่ตั้งสถานศึกษา 10 ไร่
- สวนสาธารณะ/นันทการ 25 ไร่ - พื้นที่ว่าง 400 ไร่
5. ลักษณะภูมิอากาศ
เกาะพะงันได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้ง 2 ด้าน คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ฤดูกาลแบ่งออกเป็น 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน
ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน เป็นช่วงปลายลมมรสุม ตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศจะคลายความชุ่มชื้น ประกอบกับมีกระแสน้ำอุ่นพัดจากทะเลจีนใต้ ทำให้มีฝนตกน้อยและอุณหภูมิสูงขึ้น แต่คลื่นลมสงบ น้ำทะเลใส เหมาะแก่การท่องเที่ยวเป็นอย่างยิ่ง
ฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงมกราคม สำหรับช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมเป็นช่วงลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุกไปจนถึงเดือนมกราคมของทุกปี โดยเฉพาะเดือนพฤศจิกายน มีจำนวนวันที่ฝนตกโดยเฉลี่ยถึง 20.2 วันต่อเดือน ปริมาณน้ำฝน 1,919.2 มิลลิเมตรต่อปี
6. เขตการปกครองปละประชากร
เขตการปกครองและประชากร
พื้นที่เขตเทศบาลตำบลเกาะพะงันครอบคลุมหมู่ที่ ๑ - ๓ ตำบลเกาะพะงัน และหมู่ที่ ๑ ตำบลบ้านใต้ มีเนื้อที่ประมาณ ๒๔.๖๕ ตารางกิโลเมตร ( ๑๕,๘๐๖ ไร่ ) ประชากรในเขตเทศบาลสำรวจเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 7,611 คน เป็นชาย 3,779 คน เป็นหญิง 3,832 คน มีครัวเรือนทั้งสิ้น 5,710 ครัวเรือน ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 308.76 คนต่อตารางกิโลเมตร มีประชากรแฝงประมาณ 5,500 คน มีนักท่องเที่ยวประมาณ 1,000 คนต่อวัน อัตราการเพิ่มของประชากร ร้อยละ 15.75 ต่อปี
ตารางแสดงจำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลเกาะพะงัน ( สำรวจ ณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 )
รายการ
|
ปี 2563
|
ปี 2564
|
ปี 2565
|
ประชากรชาย
|
3,706
|
3,752
|
3,779
|
ประชากรหญิง
|
3,759
|
3,801
|
3,832
|
รวมประชากร
|
7,465
|
7,553
|
7,611
|
จำนวนครัวเรือน
|
5,471
|
5,598
|
5,710
|
7. จำนวนหมู่บ้านและชุมชน
- จำนวนหมู่บ้าน เทศบาลครอบคลุมพื้นที่ หมู่ที่ 1-3 ตำบล เกาพะงัน และหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านใต้
หมู่ที่
|
ชื่อหมู่บ้าน
|
รายชื่อผู้ใหญ่บ้าน
|
1
|
บ้านท้องศาลา ต.เกาะพะงัน
|
นายประพันธ์ เดี่ยววาณิชย์
|
2
|
บ้านในสวน ต.เกาะพะงัน
|
นายอภินันท์ วุฒิจันทร์
|
3
|
บ้านมะเดื่อหวาน ต.เกาะพะงัน
|
นายเกียงไกร ฮั่นวิริยะนนท์
|
1
|
บ้านใต้ ต.บ้านใต้
|
นายจุมพต เกื้อสกุล
|
- จำนวนชุมชน เทศบาลได้ดำเนินการจัดตั้งชุมชนทั้งหมด จำนวน 7 ชุมชน ได้แก่
ชุมชนที่
|
ชื่อชุมชน
|
ประธานชุมชน
|
1
|
ชุมชนบ้านท้องศาลา
|
นายอรรถพร ใจซื่อ
|
2
|
ชุมชนบ้านในวก – สวนวัด
|
นายประกอบ รุ่งเรือง
|
3
|
ชุมชนบ้านดอนทราย
|
นายณรงค์เดช พรหมเดช
|
4
|
ชุมชนบ้านในสวน
|
นายไชยา เกื้อสกุล
|
5
|
ชุมชนบ้านหินสองก้อน
|
นายอนันต์ วิริยะนานนท์
|
6
|
ชุมชนบ้านหน้าทับ
|
นายมงคล มณีวรรณ
|
7
|
ชุมชนบ้านมะเดื่อหวาน
|
นายไพจิตร อาจหาญ
|
ชุมชนย่อยเทศบาลมีระบบหอกระจายข่าวครบทุกชุมชน ได้ตั้งเงินงบประมาณประจำปีอุดหนุนการบริหารงานชุมชนตลอดมา และเทศบาลมีการจัดโครงการแข่งขันกีฬาชุมชนสัมพันธ์ทุกปี
คณะผู้บริหารเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
ลำดับที่
|
ชื่อ-สกุล
|
ตำแหน่ง
|
1
|
นายอภิชาติ ลิ้มสุวรรณ
|
นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
2
|
นายศุภชัย ศรีทองกุล
|
รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
3
|
นายตรีวิทย์ จงจิตต์
|
รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
เลขานุการ/ที่ปรึกษาของผู้บริหาร
ลำดับที่
|
ชื่อ-สกุล
|
ตำแหน่ง
|
1
|
นายสิริชัย ฟ้าสิริพร
|
เลขานุการนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
2
|
นายสรเดช ธนวนิชนาม
|
ที่ปรึกษานายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
ลำดับที่
|
ชื่อ-สกุล
|
ตำแหน่ง
|
1
|
นายกิตติ บัวสมุย
|
ประธานสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
2
|
นายพีระศิลป์ เกื้อสกุล
|
รองประธานสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
3
|
นายอดิศักดิ์ ฐิตวัฒนกุล
|
สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
4
|
นายโรจน์ศักดิ์ ฟ้าสิริพร
|
สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
5
|
นายอนุรักษ์ พิริยสถิต
|
สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
6
|
นายเฉลิมศักดิ์ ผ่องศรี
|
สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
7
|
นายวิทยา รังสิวรานนต์
|
สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
8
|
นายพงศ์จิตร จิตต์จร
|
สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
9
|
นายวีระพงศ์ คำจันทร์
|
สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
10
|
นายไพรัช พรหมเจริญ
|
สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
11
|
นายณฤทธิ์ สมพลเดช
|
สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
12
|
นายนพดล โชติช่วง
|
สมาชิกสภาเทศบาลตำบลเกาะพะงัน
|
|